แผนการจัดการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
แผนการเรียนรู้ เรื่อง เลขยกกำลัง เวลา 1 ชั่วโมง
...........................................................................................................................................
1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐาน : มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
ตัวชี้วัด : ค1.1 ม.1/2 เข้าใจเกี่ยวกับเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลัง เป็นจำนวนเต็ม และเขียนแสดงจำนวน ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ได้
(scientific notation)
2. สาระการเรียนรู้
เลขยกกำลัง
3. เนื้อหาสาระ
เลขยกกำลังเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์อย่างหนึ่งที่ใช้แสดงแทนจำนวนที่มีการคูณจำนวนซ้ำๆ กัน โดยมีบทนิยามว่า an = a * a * a * … * a เมื่อ a แทนจำนวนใดๆ ที่ไม่เท่ากับศูนย์ และ n แทนจำนวนเต็มบวก
an อ่านว่า “เอยกกำลังเอ็น” หรือ “เอกำลังเอ็น” เรียก a ว่า “ฐาน” และเรียก n ว่า “เลขชี้กำลัง”
4. สมรรถนะสำคัญ 1) ความสามารถในการคิด
2) ความสามารถในการแก้ปัญหา
3) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ทักษะการคิด 1) ทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้
2) ทักษะการเปรียบเทียบ
3) ทักษะการนำความรู้ไปใช้
4) ทักษะการคิดหลากหลาย
6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1) ใฝ่เรียนรู้
2) มุ่งมั่นในการทำงาน
3) มีจิตสาธารณะ
4) มีวินัย
5) ซื่อสัตย์สุจริต
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1 |
1.ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยการสนทนาและซักถามนักเรียนเกี่ยวกับการแยกตัวประกอบและการเขียนจำนวนในรูปการคูณว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร พร้อมให้นักเรียนยกตัวอย่าง
2. ครูกำหนดจำนวนเต็ม 8 จำนวน ให้นักเรียนเขียนในรูปการคูณและแยกตัวประกอบ โดยแต่ละจำนวนให้เขียนในรูปแบบที่แตกต่างกันให้มากที่สุด
เช่น 16 = 2 * 8, 16 = 4 * 4, 16 = 2 * 2 * 2 * 2
36 = 2 * 18, 36 = 3 * 12, 36 = 4 * 9, 36 = 6 * 6, 36 = 2 * 2 * 3 * 3
48 = 2 * 24, 48 = 3 * 16, 48 = 4 * 12, 48 = 6 * 8, 48 = 3 * 4 * 4,
48 = 3 * 2 * 2 * 2 * 2
-32 = (-2) * 16, -32 = (-4) * 8, -32 = (-8) * 4, -32 = (-2)(-2)(-2) * 2 * 2
-32 = (-2)(-2)(-2)(-2)(-2) เป็นต้น
3. ครูเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียนโดยใช้คำถาม ให้นักเรียนบอกความแตกต่างหรือความเหมือนในแต่ละรูปแบบ และครูนำเสนอการเขียนจำนวนโดยใช้เลขยกกำลัง แต่ยังไม่บอกความหมายและบทนิยามของ เลขยกกำลังแก่นักเรียน
4. ครูตรวจสอบความคิดรวบยอดของนักเรียนโดยให้นักเรียนจับคู่ทำใบงานที่ 3.1.1
5. ตรวจใบงานที่ 3.1.1 โดยให้นักเรียนนำใบงานเปลี่ยนกันตรวจ ครูสุ่มนักเรียนให้ตอบ คนละ 1 ข้อ และสุ่มนักเรียนอีกหนึ่งคนเป็นผู้เฉลยคำตอบว่าถูกหรือผิด เพราะเหตุใด
6. ครูให้บทนิยามของเลขยกกำลัง โดยเชื่อมโยงความรู้จากใบงานที่ 3.1.1 แล้วให้ตัวอย่างการเขียน เลขยกกำลังแทนเศษส่วนและทศนิยมเพิ่มเติม และให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดที่ 1 จากหนังสือเรียน คณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.1 หน้า 76 ข้อ 1-3 เป็นการบ้าน
ชั่วโมงที่ 2 |
1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน ทำใบงานที่ 3.1.2 และ 3.1.3
2. ตรวจใบงานที่ 3.1.2 และ 3.1.3 โดยให้นักเรียนนำใบงานสับเปลี่ยนกัน และครูสุ่มนักเรียนให้ตอบ คนละหนึ่งข้อ และสุ่มนักเรียนอีกหนึ่งคนต่างกลุ่มเป็นผู้เฉลยคำตอบว่าถูกหรือผิด เพราะเหตุใด
3. ครูเชื่อมโยงความรู้บทนิยามเลขยกกำลัง ให้นักเรียนบอกจำนวนที่เขียนแทนด้วยเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก โดยขออาสาสมัคร 4 คน หรือสุ่มให้นักเรียนตอบ แล้วให้นักเรียนแต่ละคนทำใบงานที่ 3.1.4 ใช้เวลาประมาณ 10 นาที
4. ครูให้นักเรียนซักถามข้อสงสัยและขออาสาสมัครเป็นผู้ตอบ โดยครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้สมบูรณ์และถูกต้องยิ่งขึ้น
5. ครูให้อาสาสมัคร 3 คน แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำใบงานทั้งหมด
8. สื่อการเรียนรู้ / แหล่งการเรียนรู้
8.1 สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ พื้นฐานม.1
2. ใบงานที่ 3.1.1-3.1.4
3. แบบสังเกตพฤติกรรมทางการเรียนการสอน
4. แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม
8.2 แหล่งการเรียนรู้
1. ห้องหมวดคณิตศาสตร์
2. ห้องสมุดโรงเรียน
3. ข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ
9. การวัดและประเมินผล
วิธีวัดผล
|
เครื่องมือวัดผล
|
เกณฑ์การประเมินผล
|
1. สังเกตพฤติกรรมทางการเรียนการสอน
|
แบบสังเกตพฤติกรรมทางการเรียนการสอน
|
นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดีขึ้นไป
|
2. สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม
|
แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม
|
นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดีขึ้นไป
|
3. การทำใบงานที่ 3.1.1-3.1.4
|
ใบงานที่ 3.1.1-3.1.4
|
นักเรียนทุกคนทำถูกต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนทั้งหมด
|
4. การทำแบบฝึกหัดที่ 1 จากหนังสือเรียน คณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.1 หน้า 76 ข้อ 1-3
|
แบบฝึกหัดที่ 1 จากหนังสือเรียน คณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.1 หน้า 76 ข้อ 1-3
|
นักเรียนทุกคนทำถูกต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนทั้งหมด
|
เกณฑ์การประเมินผลจากการทำ ใบงาน แบบฝึกหัด ใช้เกณฑ์ดังนี้
80% ขึ้นไป หมายถึง ดีมาก
70-79% หมายถึง ดี
60-69% หมายถึง ปานกลาง
50-59% หมายถึง ผ่าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น